1xbet casino download

ทีดีอาร์ไอ ชำแหละปัญหา PM2.5 ใน กทม. – ภาคเหนือ เสนอตั้ง “คกก.นโยบายฝุ่นควัน PM2.5” ทำแซนด์บ็อกภาคเหนือตอนบน มีกม.พิเศษเหมือน EEC


เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2567 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้เผยแพร่บทความวิชาการ เรื่อง “ปัญหามลพิษจากฝุ่น PM2.5: แนวทางการป้องกันและลดการเผาในที่โล่ง และร่างงบประมาณ พ.ศ.2567” โดย ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ. สุทธิภัทร ราชคม และกำพล ปั้นตะกั่ว นักวิจัยนโยบายเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งเนื้อหาโดยสรุปได้ชี้ให้เห็นถึงสาเหตุการกำเนิดฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่กทม. และพื้นที่อื่นโดยเฉพาะภาคเหนือ แหล่งกำเนิดฝุ่นจากประเทศเพื่อนบ้าน การจัดสรรงบประมาณในการแก้ไขปัญหาฝุ่น ในร่างพ.ร.บ.ประมาณ 2567 ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งข้อเสนอแนะและแนวทางในการแก้ไขปัญหา

1xbet casino downloadLiên kết đăng nhập

​4 เหตุทำเกิดฝุ่น PM2.5 ในกทม. “อุณหภูมิผกผัน-มลพิษรถยนต์-โรงงานรอบกรุง-ผลิตไฟจากพลังงานฟอสซิล”

​ปัญหาการเกิดฝุ่น PM2.5 ในเขตเมืองกทม. สาเหตุหลักมาจาก 4 ปัจจัย คือ 1.จากปรากฎการณ์อุณหภูมิผกผัน (Temperature Inversion) คือ การระบายอากาศในเมืองอยู่ในอัตราต่ำกว่าปกติทำให้ชั้นอากาศเป็นฝาครอบกักอากาศที่ผิวพื้นไว้ ทำให้หมอกควันไม่เคลื่อนตัว สะสมอยู่ใกล้พื้น 2.จากปัญหาจราจรเป็นหลักในกทม. โดยเฉพาะจากพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลที่มีกระบวนการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เกิดเขม่าและฝุ่นควันมาก ซึ่งจากข้อมูลกรมขนส่ง (ธ.ค. 2566) พบว่า มียานพาหนะที่เป็นเครื่องยนต์ดีเซลในเขต กทม. มากถึง 3.28 ล้านคัน (คิดเป็น27.37%ของจำนวนยานพาหนะทั้งหมด) 3.การผลิตไฟฟ้าที่เกิดจากการใช้พลังงานฟอสซิล ขณะที่สัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนยังมีน้อย อยู่ที่ประมาณ 18% ต่อพลังงานทั้งหมดเท่านั้น และ4. โรงงานกระจุกตัวในเขตกทม.และปริมณฑลเป็นส่วนใหญ่ โดยโรงงานทั่วประเทศมี 72,699 แห่ง แต่อยู่ในพื้นที่สมุทรปราการ 7,004 แห่ง (9.6%) สมุทรสาคร 6,628 แห่ง (9.1%) กทม. 5,979 แห่ง (8.2%) ชลบุรี 5,106 แห่ง (7.0%) และ ปทุมธานี 3,460 แห่ง (4.8%) ซึ่งแม้จะมีกฎหมายและมาตรการกำกับดูแลการปล่อยมลพิษของโรงงาน อย่างจริงจังและเข้มข้นขึ้น แต่รัฐยังขาดการบังคับใช้กฎหมายด้านมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและโรงงานไฟฟ้าโดยรวมในแต่ละพื้นที่ และมาตรฐานคุณภาพอากาศของประเทศ ในการปกป้องคุ้มครองสุขภาพประชาชน และคุ้มครองพืช ป่า ความหลากหลายด้านชีวภาพ เพื่อมิให้เกิดความเสียหายและสูญเสียจากมลพิษชนิดต่างๆ

​ภาคเหนือค่าฝุ่นหนัก พบหลายสาเหตุ เผาป่า-การเกษตร-หวังเพิ่มงบ-บุกรุกพื้นที่ป่าโยงแนวเขต สปก.

​ขณะที่วิกฤตฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ชนบท โดยเฉพาะภาคเหนือสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากภูมิประเทศที่มีลักษณะเหมือนแอ่งกระทะ แต่สาเหตุที่สำคัญที่สุดมาจากการเผาด้วยฝีมือมนุษย์ ในเขตพื้นที่ชนบทการเกิดหมอกควันมาจากการเผาไหม้ในป่ามากที่สุด รองลงมาคือการเผาเศษวัสดุการเกษตรในไร่นา ซึ่งมีข้อมูลระบุว่าพื้นที่ที่พบการเผาซ้ำซากเป็น 10 ปี มีมากกว่า 5.8 แสนไร่

ทั้งนี้การเผาป่ามีสาเหตุเชิงซ้อนหลายด้าน ทั้งมิติ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ภูมิอากาศ สภาพเศรษฐกิจ-สังคม-การเมือง ตลอดจนนโยบายและมาตรการของรัฐด้านการใช้ทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ฯ  นอกจากการเผาเพื่อหาของป่า เพราะความยากจน และการเผาเพื่อขยายพื้นที่การเกษตรแล้ว ยังพบว่ามีการเผาป่าเพื่อหวังเพิ่มงบประมาณของบางหน่วยงาน หรือเผาเพื่อกลั่นแกล้งเจ้าหน้าที่รัฐ และที่สำคัญน่าจะเป็นการเผาเพื่อบุกรุกพื้นที่ป่า ซึ่งการเปิดเผยเรื่องแนวเขตสปก.ในพื้นที่อุทยานเขาใหญ่ของชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ทำให้เข้าใจถึงมูลเหตุเบื้องหลังของการเผาป่ารอบเขตอุทยาน ว่าเป็นการทำให้พื้นที่ป่าอุทยานบางส่วนกลายเป็นป่าเสื่อมโทรมที่เข้าหลักเกณฑ์ของสปก.ที่จะนำมาจัดสรรให้คนยากจนได้

1xbet casino downloadLiên kết đăng nhập

​“กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีความร่วมมือกันระหว่างข้าราชการบางคน นายทุนและนักการเมืองผู้มีอิทธิพลแม้ one map(การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000)  ที่ริเริ่มตั้งแต่ปี 2559 จะเป็นทางแก้ไขที่น่าจะได้ผล แต่ประสบการณ์จัดทำ one map ที่ผ่านมาพิสูจน์ชัดว่าหากปราศจากความกล้าหาญของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีในการแก้ปัญหาโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของพรรคพวก one map ก็คงไร้ความหมาย เราคงเห็นแค่การยุติความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานรัฐโดยไม่มีการแก้ไขปัญหาเผาป่าอุทยานเพื่อยึดครองที่ดินอย่างจริงจัง
​ทั้งนี้แนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว รัฐบาลควรนำประสบการณ์ของภาคเอกชน ภาคประชาสังคมที่ประสบความสำเร็จในแก้ปัญหาการเผาป่าชุมชน ด้วยการทำมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนทั้งที่อาศัยอยู่ใกล้ป่าอุทยานและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีบทบาทการอนุรักษ์พื้นที่ป่า สำหรับเกษตรกรบนที่สูงที่ปลูกข้าวโพดและจำเป็นต้องเผาตอซัง รัฐควรแสวงหาอาชีพทางเลือกที่คุ้มค่ากว่า เช่น การเปลี่ยนระบบการเกษตรเป็นแบบยั่งยืน การขายคาร์บอนเครดิต แต่รัฐบาลต้องเร่งจัดทำนโยบายภาษีคาร์บอนภาคบังคับก่อน ขณะที่ไร่อ้อยนั้น ควรมีมาตรการให้เงินอุดหนุนการตัดอ้อยสดโดยไม่เผา 120 บาทต่อตัน กับการที่โรงงานน้ำตาลสนับสนุนให้หัวหน้าโควต้าอ้อย เป็นผู้ให้บริการตัดอ้อย และอัดใบอ้อย โดยรับซื้อก้อนใบอ้อยที่เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลจากชาวไร่อ้อย ซึ่งเป็นมาตรการที่มีประสิทธิผล เพราะลดพื้นที่การเผาไร่อ้อยได้อย่างจริงจัง แต่น่าเสียดายที่รัฐบาลไม่มีมาตรการอุดหนุนการตัดอ้อยสดในฤดูตัดอ้อยปี 2567 ทำให้มีการเผาไร่อ้อยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

1xbet casino downloadLiên kết đăng nhập

​ห่วงฝุ่นจากประเทศเพื่อนบ้าน ยากต่อการจัดการ

​บทความชิ้นนี้ยังระบุถึง แหล่งเกิดฝุ่น PM2.5 จากนอกประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ว่า ฝุ่น PM2.5 จากการเผาในที่โล่ง ไม่ได้เกิดขึ้นแต่ภายในจังหวัด แต่มีกระแสลมพัดพามาทั้งจากจังหวัดใกล้เคียงและจากประเทศเพื่อนบ้าน แอ่งฝุ่นควัน PM2.5 นี้เรียกว่า “airshed” ซึ่งถือเป็นแหล่งเกิดมลพิษที่ยากต่อการจัดการสำหรับไทยมากที่สุด  โดยฝุ่นที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านเกิดจากการเผาพื้นที่นา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อย โดยเฉพาะการเผาพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเมียนมาร์ ที่ไทยนำเข้าปริมาณมากขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2562 และการเผาป่าเพื่อลักลอบปลูกมันสำปะหลังเพื่อการส่งออกของประเทศลาว

​ชี้ จุดอ่อน งบแก้ PM2.5 กระจุกตัวสูง ปภ.หน่วยงานเดียวได้ 89% – บริหารจัดการแยกส่วน

​บทความยังระบุด้วยว่า หลักฐานเชิงประจักษ์ที่แสดงจุดอ่อนของการจัดทำนโยบายและระบบการบริหารจัดการเพื่อแก้ปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 มีด้วยกัน 3 ส่วน คือ 1.การจัดสรรงบประมาณปี 2567เพื่อดำเนินการตามนโยบายป้องกันและลดปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5ที่พบว่ากระจุกตัวสูงมาก โดยปภ.ได้รับงบประมาณ คิดเป็น 89.2 % ของงบประมาณด้าน PM 2.5 ทั้งหมด สะท้อนแนวคิดของรัฐในการแก้ปัญหา PM 2.5 ที่ยังเชื่อว่าปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาสาธารณภัย ทั้งๆที่ในข้อเท็จจริงเป็นปัญหาโครงสร้างด้านเศรษฐกิจ-สังคม-ธรรมาภิบาล ที่สลับซับซ้อน นอกจากนี้งบประมาณเกือบทั้งหมด (96.2%) ตกอยู่กับหน่วยราชการส่วนกลางมีเพียง 11 จังหวัดและ 2 กลุ่มจังหวัดที่ได้รับงบประมาณเพียง 1.24% 2.ปัญหาโครงสร้างการบริหารจัดการแบบแยกส่วน การตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาไม่มีความต่อเนื่อง และ 3.ปัญหาด้านข้อมูล

1xbet casino downloadLiên kết đăng nhập

​เปิดข้อเสนอ 6 ข้อ ชงตั้ง “คกก.นโยบายฝุ่นควัน PM2.5” มีอำนาจเต็มแก้ปัญหา -เร่งแก้กม. ออกกลไกใหม่ -ทำแซนด์บ็อกภาคเหนือตอนบน -จับมือเพื่อนบ้านคุมเผาในที่โล่ง

​นักวิชาการทีดีอาร์ไอ มีข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาดังนี้
  1. ควรการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายฝุ่นควัน PM2.5 (ที่เป็นฝ่ายการเมือง)และจัดตั้งหน่วยงานหลักทำหน้าที่เป็นศูนย์การบริหารจัดการPM2.5 แบบมืออาชีพ โดยได้รับมอบอำนาจเต็ม เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการร่วมแก้ปัญหากับหน่วยงานที่มีหน้าที่ต่างๆ และรวบรวมข้อมูล big data  ถอดบทเรียน วิเคราะห์ติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงแผน รวมทั้งจัดทำงบประมาณบูรณาการและอาจมีความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งกองทุนขึ้นในหน่วยงานนี้ เพราะในบางกรณีงบประมาณของรัฐ อาจไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดในการใช้จ่าย
  2. เร่งรัดการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้มีเครื่องมือใหม่ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ในการป้องกันและลดปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 (เช่นการใช้ราคาและเงินอุดหนุนเป็นแรงจูงใจ/ บทลงโทษ)  เร่งออกกฎหมายภาษีคาร์บอนภาคบังคับ
  3. จัดทำโครงการทดลองรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อการแก้ปัญหา PM2.5 (sand box) ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โดยรวมกลุ่มจังหวัดที่คาดว่าอยู่ในพื้นที่แอ่งฝุ่น PM2.5 เดียวกัน (airshed กล่าวคือ การเผาป่าหรือพื้นที่เกษตรในจังหวัดทำให้ฝุ่นพัดข้ามแดนไปยังจังหวัดใกล้เคียง) มีการตรากฎหมายพิเศษแบบเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ให้อำนาจพิเศษในการดำเนินงานแก่หน่วยงานหลักตามข้อเสนอที่ 1 แต่มีกระบวนทำงานจากล่างสู่บน  เน้นกระจายอำนาจให้มากทุ่ด ควรมีภาคเอกชนภาคประชาสังคม และวิชาการในพื้นที่เข้าร่วมให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนปฏิบัติการ ส่วนหน่วยงานรัฐส่วนกลางเป็นผู้สนับสนุนในด้านทรัพยากร กำลังคน ข้อมูล และคำแนะนำด้านกฎระเบียบและวิชาการ
  4. การจัดทำข้อมูล big data รวมทั้งขอความร่วมมือจากธนาคารโลกในการศึกษาและระบุพื้นที่ airshed ในพื้นที่ชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีกิจกรรมเผาในที่โล่งและฝุ่นควัน PM2.5พัดเข้ามาในพื้นที่ภาคเหนือ และรอบกทม.
  5. บูรณาการงบประมาณของหน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น
  6. มีนโยบายร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการกำหนดมาตรการลดการเผาในที่โล่ง หรือการปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรเป็นแบบยั่งยืน ทั้งนี้ข้อควรระวังคือ ไทยเป็นสมาชิก WTO และต้องทำตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ดังนั้นไม่สามารถเปิดปิดประตูการค้าตามอำเภอใจ โดยขัดกับหลักการ most favored nation (หลักการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์อย่างยิ่ง) ของ WTO

1xbet casino downloadLiên kết đăng nhập


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active
    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์
    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
Save
m88 cá cược thể thao trực tuyến cá cược thể thao online cá cược thể thao trực tuyến trang cá độ bóng đá trực tuyến f88 cá độ