1xbet casino download

จับตามองนโยบายโซลาร์รูฟท็อปจากอดีตถึงปัจจุบัน


                ปัจจุบัน หน่วยงานทั้งภาครัฐและอุตสาหกรรมให้ความสนใจการติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาหรือโซลาร์รูฟท็อปเป็นอย่างมาก ด้วยแนวโน้มเทคโนโลยีระบบการผลิตโซลาร์เซลล์มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กอปรกับเทคโนโลยีเหล่านั้นยังมีราคาที่ถูกลงมาก คุ้มค่าในการลงทุน และที่สำคัญพลังงานแสงอาทิตย์ถือเป็นพลังงานธรรมชาติที่มีศักยภาพสูง นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าได้ สามารถติดตั้งใช้งานในพื้นที่จำกัด เช่น บนหลังคาบ้านอยู่อาศัย อาคารสำนักงานและโรงงานต่างๆ

สำหรับประเทศไทยแล้ว ภาครัฐก็มีนโยบายในการสนับสนุนโซลาร์รูฟท็อป ภายใต้แผนบูรณาการด้านพลังงานระยะยาวของประเทศ (TIEB) ซึ่งประกอบด้วย 5 แผนหลัก โดยพลังงานแสงอาทิตย์จะอยู่ในแผน AEDP 2015 หรือแผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579  ซึ่งได้กำหนดให้เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเป็น 30% ของพลังงานขั้นสุดท้าย ในปี 2579 ในขณะที่สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน ในเดือนตุลาคม 2560 อยู่ที่ 14.47% ทั้งนี้ในส่วนโดยพลังงานแสงอาทิตย์ตามแผนนั้น เป้าหมายอยู่ที่ 6,000 เมกะวัตต์ ซึ่งปัจจุบันมีโคตาที่ผลิตและจำหน่าย หรือมีการซื้อขายกันแล้ว ประมาณ 3,000 เมกะวัตต์

 

นโยบายด้านการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และการดำเนินงานที่ผ่านมา

 

                ด้วยประเทศไทยมีการจัดทำข้อมูลแผนที่ศักยภาพของพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งค่าเฉลี่ยรังสีอาทิตย์ของประเทศไทยอยู่ที่ 18 เมกะจูล/ตารางเมตร/วัน หรือประมาณ 45 หน่วยไฟฟ้า/ตารางเมตร/วัน เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดร้อยเอ็ด อุบลราชธานี และในภาคกลางจังหวัดลพบุรี เป็นต้น นอกจากนี้แล้วราคาแผงเซลล์แสงอาทิตย์มีแนวโน้มลดลง โดยข้อมูลจาก International Renewable Energy Agency (IRENA) 2016 ระบุว่าราคาแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในปี 2553 อยู่ที่ 3 ดอลลาร์ต่อวัตต์ ในขณะที่ปี 2559 ราคากลับลดลงเป็น 0.5-0.7 ดอลลาร์ต่อวัตต์ ดังนั้น จึงทำให้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก ในอดีตตั้งแต่ปี 2536 ภาครัฐได้มีรูปแบบการสนับสนุนการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบ 100% ในพื้นที่ห่างไกล หรือในบริเวณที่สายส่งยังเข้าไปไม่ถึง การรูปแบบการสนับสนุน 100% นั้น เนื่องจากต้นทุนแผงยังมีราคาค่อนข้างแพง    ถัดมาในปี 2550 โครงการได้เปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการให้เงินสนับสนุนในรูปแบบ Adder อยู่ที่ 8 บาท ต่อมาในปี 2553 ราคาแผงลดลง จึงปรับ Adder ลงอยู่ที่ 6.50 บาทและในปี 2556 ครม. โดย กพช.ได้เห็นชอบโครงการเปลี่ยนจาก Adder เป็น Feed-in Tariff หรือ FiT เพื่อความเป็นธรรมต่อประชาชนและภาครัฐ โดย FiT อยู่ที่ 5.66-6.85 บาท ทั้งนี้ค่า FiT ดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับขนาดของการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป หากเป็นบ้านอาศัยขนาดเล็กก็จะได้ค่า FiT มาก ในขณะที่โรงงานและอาคารธุรกิจค่า FiT จะถูกกว่า จนกระทั่งได้มีการปรับลด FiT ลงมาเป็น 4.12 บาท และท้ายสุดจะมุ่งไปนโยบายโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา โซลาร์รูฟท็อปแบบเสรี (Self-consumption) ภายใต้โครงการส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปแบบเสรี ซึ่งเป็นระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับบ้านและอาคาร หรือ Self-consumption เกิดขึ้นมาจากข้อเสนอโครงการปฏิรูปเร็ว (Quick Win) คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานแห่งชาติ ได้มีข้อเสนอโครงการนำร่อง (Pilot Project) การผลิตไฟฟ้พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอย่างเสรี พ.ศ. 2559 โดยเปิด Pilot Project รวม 100 เมกะวัตต์ ภายใต้ Self-consumption นั่นก็คือ ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปสำหรับผลิตไฟฟ้าในตอนกลางวัน ส่วนกลางคืนก็ซื้อไฟฟ้าตามปกติ ทั้งนี้ประชาชนสามารถผลิตไฟฟ้าใช้ภายในบ้านได้เองและขายไฟส่วนที่เหลือ เพียงแต่จะไม่ได้รับค่าไฟในที่ไหลเข้าสู่ระบบจำหน่าย (Gird) แต่จะได้รับการติดตั้งและตรวจสอบมิเตอร์ฟรี ทั้งนี้ พื้นที่ดำเนินการจะแบ่งเป็น กฟน. จำนวน 50 เมกะวัตต์ และ กฟภ. จำนวน 50 เมกะวัตต์ โดยมีสัดส่วนบ้านขนาดไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ จำนวน 20 เมกะวัตต์ ส่วนอาคารขนาดไม่เกิน 1,000 กิโลวัตต์ จำนวน 80 เมกะวัตต์                          หลังจากมีประกาศขยายเวลาเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าโครงการนำร่อง (Pilot Project) รายงานข้อมูลจาก กฟน. และ กฟภ. ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2560 พบว่า สถานะการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้ามีการเชื่อมต่อรวมทั้งสิ้น 180 ราย กำลังการผลิตรวม 5.63 เมกะวัตต์ โดย กฟน. 153 ราย กำลังการผลิต 3.93 เมกะวัตต์ และ กฟภ. 27 ราย กำลังการผลิต 1.70 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ศึกษาวิเคราะห์โครงการนำร่องการส่งเสริมติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปแบบเสรีระยะขยายผล โดยได้เสนอ 2 แนวทางในการส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปในอนาคต นั่นก็คือ Net Metering และ Net Billing ซึ่งตรงนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณาดูว่าวิธีไหนที่เหมาะกับประเทศไทย ณ เวลานี้

 

นโยบาย โซลาร์รูฟท็อปในอนาคต มุ่งไปสู่การผลิตไฟฟ้าใช้เอง

 

                สำหรับโซลาร์รูฟท็อปนั้น ภาคนโยบายมุ่งไปที่การส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟ Self-consumption ไฟฟ้าส่วนที่ใช้เอง มีมูลค่าเท่ากับค่าไฟฟ้าขายปลีกตามประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า และไฟฟ้าส่วนเกินขายให้การไฟฟ้า มีมิเตอร์เก็บข้อมูล นำมาหักลบหน่วยสำหรับการใช้ไฟฟ้าในรูปแบบ kWh หรือ บาท                 หลังจากการประชุมกันหลายครั้ง ทิศทางจะส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟ Self-consumption เป็นแบบ Net Billing คำนวณตามรอบบิลรายเดือน ข้อดี คือ สามารถรับซื้อและกำหนดราคาไฟฟ้าส่วนเกิน การไฟฟ้าบริหารจัดการบัญชีได้ง่าย ตรวจวัดไฟไหลย้อนได้ หากมิเตอร์วัดไฟฟ้าเป็นแบบจานหมุนจะต้องเปลี่ยนมาเป็นแบบดิจิทัลโดยมีบิลแสดงอย่างชัดเจนของมูลค่าการซื้อไฟฟ้าตามปกติ และมูลค่าการขายไฟฟ้าส่วนเกิน  ที่ผ่านมาได้นำเสนอ Net Billing เข้ามติ ครม.แล้ว และ ครม.เห็นชอบหลักการติดตั้งแบบ Net Billing สำหรับอัตรารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกิน จะพิจารณาจากสัดส่วนประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าและการวิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุนโซลาร์รูฟไฟฟ้าส่วนที่ใช้เอง (Self-consumption) และไฟฟ้าส่วนเกิน (Excess) และราคารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินต่ำกว่าราคาค่าไฟฟ้าขายส่งเฉลี่ย โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ บ้านอยู่อาศัย, อาคารหรือโรงงาน ขนาดติดตั้งน้อยกว่า 1 เมกะวัตต์ และบ้านอยู่อาศัย อาคารหรือโรงงาน ขนาดติดตั้งมากกว่า 1 เมกะวัตต์ ส่วนเรื่องการกำหนดเป้าหมายและปริมาณรับซื้อ เนื่องจากสอดคล้องกับแผน AEDP 2015 ที่กำหนดเป้าหมายการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ที่ 6,000 เมกะวัตต์ และยังสอดคล้องกับการศึกษาโครงการนำร่อง (Pilot Project) การศึกษาเชิงเทคนิค, ข้อจำกัดของ, Grid Code, Capacity ของสายส่ง ทำให้สามารถกำหนดโควตาและเป้าหมายได้ไม่มาก หากยังไม่มีการปรับเป้าหมายของแผน AEDP มากขึ้น ซึ่งนโยบายล่าสุดอาจจะมีการปรับแผนของ AEDP เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเป็น 40%

อย่างไรก็ตาม โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา โซลาร์รูฟท็อปแบบเสรี (Self-consumption) ล่าสุด ดร. ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ให้หน่วยงานภาครัฐและกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ทบทวนและพิจารณารายละเอียดและความเหมาะสมเกี่ยวกับปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าในหลากหลายมิติ ข้อกำหนด รวมไปถึงข้อจำกัดต่างๆ เพื่อกลั่นกรองให้ละเอียดอีกครั้ง โดยเฉพาะเงื่อนไขต่างๆ ว่ามีเหตุผลที่เหมาะสมหรือไม่อย่างไร และเหตุใดต้องจำกัดโควตาการรับซื้อหากเป็นเสรี โดยทั้งนี้คาดว่าจะมีการเปิดรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินจากโซลาร์รูฟท็อปได้ในปี 2561 เพียงแต่ตอนนี้ยังคงรอความชัดเจนจากภาครัฐ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active
    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์
    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
Save
m88 cá cược thể thao trực tuyến cá cược thể thao online cá cược thể thao trực tuyến trang cá độ bóng đá trực tuyến f88 cá độ