1xbet casino download

จับตาการพัฒนาอาคารที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ในไทย สอดรับแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีหรือไม่ ?


ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา การออกแบบอาคารได้มุ่งเน้นออกแบบให้เป็นอาคารเขียว (Green Building) ประหยัดพลังงาน และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ปัจจุบันนอกจาก 2 ประเด็นหลักดังกล่าวแล้ว ยังมีประเด็นของการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 และปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 การออกแบบ อาคารจึงต้องคำนึงถึงการลดการปนเปื้อนของ PM2.5 เพื่อสุขภาพของผู้อาศัยให้ได้รับอากาศที่บริสุทธิ์ รวมทั้งการออกแบบอาคารให้สอดรับกับวิถีชีวิต (Next Normal) อีกด้วย

จากแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีของประเทศไทย กำหนดให้มีการออกแบบอาคารทั่วไปให้เป็นอาคารใช้พลังงานเป็นศูนย์ (Net-Zero Energy Building) ภายในปี พ.ศ. 2579 โดยที่ประเทศไทยมีอาคารต้นแบบที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์แห่งแรกที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้อาคารอื่นๆ ทั่วทั้งประเทศต่อยอดการออกแบบก่อสร้างอาคารให้การใช้พลังงานเกิดประโยชน์สูงสุด แต่ถึงแม้ปัจจุบันอาคารใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ในไทยยังมีเพียงไม่กี่แห่ง ส่วนใหญ่ยังเป็นอาคารขนาดเล็ก ซึ่งไม่มีความซับซ้อนเทียบกับอาคารขนาดกลางและขนาดใหญ่

อาคารในยุโรป-US ขยายสู่ระดับชุมชนที่ใช้พลังงานเป็นศูนย์

จากบทความเรื่อง “ชุมชนที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero Energy Settlement)” โดย รศ. ดร.พิพัฒน์ ชัยวิวัฒน์วรกุล บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ระบุว่า ในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ภาคอาคารมีการใช้พลังงาน 40% ของพลังงานทั้งหมด ซึ่งคิดเป็น 36% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในเขตภูมิภาคนี้ ดังนั้นคณะมนตรีสหภาพยุโรปจึงเห็นชอบที่จะบังคับใช้ Energy Performance of Buildings Directive (EPBD) เพื่อเป็นเครื่องมือเชิงกฎหมายที่จะปรับปรุงเกณฑ์ประสิทธิภาพพลังงานอาคารในแต่ละประเทศสมาชิกให้เข้มงวดขึ้น โดยมีเป้าหมายให้อาคารที่จะก่อสร้างใหม่ในปีค.ศ. 2020 เป็นอาคารที่ใช้พลังงานสุทธิใกล้ศูนย์

ในสหรัฐอเมริกา อาคารธุรกิจและบ้านที่อยู่อาศัยใช้ไฟฟ้าประมาณร้อยละ 70 ของการใช้ทั้งหมดในประเทศ ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 75 ในปี ค.ศ. 2025 หน่วยงานภาครัฐ Environmental Protection Agency (EPA) จึงได้ประกาศใช้ Executive Order 13693 กำหนดให้อาคารก่อสร้างใหม่ของภาครัฐต้องเป็นอาคารที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ในปี ค.ศ. 2020 โดยในปี ค.ศ. 2025 อาคารภาครัฐที่มีอยู่ 1% จะเป็นอาคารที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ ภายใต้การกำหนดนโยบายที่ชัดเจนดังกล่าว กอปรกับงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐที่ต่อเนื่อง การพัฒนาอาคารที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา จึงมีความก้าวหน้าโดยลำดับ จากเดิมที่ขอบเขตของโครงการที่เป็นอาคารหลังหนึ่งๆได้ขยายสู่ระดับชุมชน หรือเมืองที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero Energy Settlement) หลายแห่ง ซึ่งการพัฒนาในลักษณะนี้ส่งผลกระทบที่ชัดเจนทั้งด้านอนุรักษ์พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การดำเนินโครงการเหล่านี้เริ่มที่จะขับเคลื่อนโดยกลไกตลาด (Market Driven Mechanism) เกิดเป็นธุรกิจใหม่ตลอดห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมก่อสร้าง เกิดผลิตภัณฑ์อาคารสำเร็จรูปใหม่ กระบวนการก่อสร้างใหม่ เทคโนโลยีการออกแบบอาคาร การตรวจวัดและพิสูจน์เพื่อประกันสมรรถนะของอาคาร รวมไปถึงธุรกิจบำรุงรักษางานระบบ ฯลฯ

1xbet casino downloadLiên kết đăng nhập

อาคารสำนักงานกองสื่อสารองค์กร มข. ต้นแบบอาคารใช้พลังงานเป็นศูนย์แห่งแรกของไทย

สำหรับประเทศไทย มีโครงการอาคารต้นแบบที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Energy Building) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน สนับสนุนงบประมาณ 18 ล้านบาท เพื่อศึกษาพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานที่เหมาะสมสำหรับอาคารในประเทศไทย ถือเป็นอาคารแรกและอาคารเดียวในประเทศไทยที่ใช้พลังงานเป็นศูนย์ ตามหลักการอาคารใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ คือ ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่นำเข้าจากภายนอกสู่อาคาร เมื่อหักลบกับปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้เองจากอาคารคิดคำนวณในแต่ละรอบปีต้องมีค่าเท่ากับศูนย์ ซึ่งเป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้าภายในอาคารได้สูงสุด โดยที่อาคารสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้เพียงพอต่อความต้องการภายในอาคาร

มข. ระดมนักวิจัยพัฒนาปรับปรุงอาคารเก่าให้เป็นต้นแบบอาคารที่ใช้พลังงานไฟฟ้าสุทธิเป็นศูนย์

โครงการวิจัยฯ นี้มีเป้าหมายในการใช้พลังงานไฟฟ้าสุทธิภายในอาคารเป็นศูนย์ (Net Zero Energy Building) นำทีมวิจัยโดย ผศ. ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้รวบรวมนักวิจัยที่เกี่ยวข้องหลายสาขาภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วยอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ นักวิจัยจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมกับการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชนต่างๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานและบริษัท เอ็นโซล จำกัด โดยได้พัฒนาปรับปรุง “อาคารสำนักงานของกองสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยขอนแก่น” ให้เป็นอาคารสำนักงานต้นแบบที่สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าสุทธิภายในอาคารเป็นศูนย์

1xbet casino downloadLiên kết đăng nhập

ชู 2 องค์ประกอบสำคัญ สู่เป้าหมายการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคารสุทธิเป็นศูนย์

เดิมอาคารสำนักงานกองสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นอาคารเก่า 2 ชั้น มีพื้นที่ใช้งาน 315 ตารางเมตร มีการใช้ไฟฟ้าประมาณ 35,000 หน่วยต่อปี ทีมวิจัยได้ออกแบบอาคารเน้นให้ใช้พลังงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล โดยติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าใช้ในอาคาร ในช่วงกลางวันที่สามารถผลิตพลังงานได้เกินความต้องการ จะจ่ายพลังงานไปยังอาคารอื่นๆ ด้วย ขณะเดียวกัน ช่วงกลางคืนหรือไม่มีแสงอาทิตย์ ก็จำเป็นต้องใช้พลังงานจากภายนอก แต่เมื่อใช้พลังงานภายนอกลบกับพลังงานที่ผลิตได้ในอาคารแล้วจะมีค่าเท่ากับศูนย์
สิ่งที่ช่วยให้แนวคิดดังกล่าวสำเร็จขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน ส่วนแรก คือ เทคโนโลยีการประหยัดพลังงานที่นำมาใช้ในอาคาร เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพสูง การออกแบบอาคารและการจัดการพลังงาน เป็นต้น ส่วนที่ 2 คือ เทคโนโลยีการผลิตพลังงานที่ใช้ในอาคาร อาทิ การผลิตไฟฟ้าหรือความร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งถือเป็นแนวทางการประหยัดพลังงานไฟฟ้าภายในอาคารได้สูงสุด โดยเบื้องต้นอาคารจะสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ประมาณ 28,000 หน่วย/ปี เฉลี่ย 80 หน่วย/วัน หรือมีการผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าปริมาณการใช้งานประมาณ 8%

อาคารต้นแบบ มข. ถ่ายทอดความรู้อาคารใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ให้อาคารอื่นๆ ทั่วทั้งประเทศ

อาคารต้นแบบฯ แห่งนี้ ได้ลดการใช้พลังงานในอาคารโดยใช้เทคนิคดังนี้ คือ ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์สำนักงานเป็นอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ปรับปรุงผนังอาคารโดยการติดตั้งฉนวนในผนัง ปรับปรุงหลังคาอาคารโดยเปลี่ยนวัสดุมุงเป็นสีอ่อนและติดตั้งฉนวนใยแก้วหนา 4 นิ้ว ลดพื้นที่กระจกและติดตั้งฟิล์มกรองแสงที่กระจกเพื่อลดความร้อนโดยอาคารมีค่าการถ่ายเทความร้อนรวม (Thermal Transfer Value : OTTV) เท่ากับ 18.95 วัตต์ต่อตารางเมตร และมีค่าสัดส่วนพื้นที่หน้าต่างกระจกต่อพื้นที่ผนังทั้งหมด (Window to Wall Ratio : WWR) เท่ากับ 0.21 ติดตั้งอุปกรณ์นำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ในอาคารการปรับปรุงระบบปรับอากาศ โดยใช้ระบบ Variable Refrigerant Volume (VRF) มีคอมเพรสเซอร์ DC มอเตอร์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบ ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โดยตรง และมีอินเวอร์เตอร์ควบคุมความเร็วรอบให้สัมพันธ์กับภาระการทำความเย็น ติดตั้งแผงรังผึ้งระบายความร้อน (Cooling Pad) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายความร้อนของระบบปรับอากาศ ใช้หลอด LED โดยมีค่าพลังไฟฟ้าแสงสว่างต่อพื้นที่ (Lighting Power Density : LPD) เท่ากับ 3.36 วัตต์ต่อตารางเมตร โดยที่ยังมีแสงสว่างที่เพียงพอ และการรณรงค์จิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงาน สุดท้ายคือ ปรับปรุงหลังคาให้มีความลาดเอียงไปทางทิศใต้และติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 20 กิโลวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 26,000 หน่วยต่อปี ภายหลังการปรับปรุงโครงสร้างอาคารและปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว อาคารใช้พลังงานลดลงถึง 40% รวมทั้งพลังงานที่ใช้จริงประมาณ 60% ยังได้มาจากระบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยอาคารของมหาวิทยาลัยขอนแก่นจะเป็นอาคารต้นแบบและสถานที่ถ่ายทอดความรู้อาคารต้นแบบด้านการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์อีกด้วย เพื่อให้อาคารอื่นๆ ทั่วทั้งประเทศต่อยอดการออกแบบก่อสร้างอาคารให้การใช้พลังงานเกิดประโยชน์สูงสุด ลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นจะเป็นศูนย์กลางในการกระจายความรู้ออกไปในวงกว้าง

กฟผ. ปรับปรุงอาคารสถานีไฟฟ้าแรงสูงอุบลราชธานี สู่การใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์

ล่าสุด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้มีโครงการวิจัยเพื่อศึกษาการปรับปรุงอาคารที่ทำการสถานีไฟฟ้าแรงสูง อุบลราชธานี สู่การใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ โดยอาคารนี้เป็นอาคารก่อสร้างใหม่ ความสูง 4 ชั้น ประกอบด้วยพื้นที่สำนักงานห้องประชุม และห้องน้ำ มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 2,273.81 ตารางเมตร มีพื้นที่ปรับอากาศ 1,027.17 ตารางเมตร ผลการจำลองค่าพลังงานสำหรับอาคารต้นแบบผ่านโปรแกรม Building Energy Code (BEC) มีค่าพลังงานรวมที่ใช้ตลอดปีเท่ากับ 93,709.72 kWh/Year เป้าหมายหลักของการศึกษาในครั้งนี้ คือ กำหนดแนวทางการปรับปรุงอาคารเพื่อลดการใช้พลังงาน รวมกับพลังงานที่จัดหาได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ต้องมีค่ามากกว่าค่าพลังงานรวมที่ใช้ตลอดปีของอาคารต้นแบบ จากผลการศึกษาพบว่า ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการปรับปรุงอาคาร คือ เปลี่ยนวัสดุกระจกเป็นชนิด Clear Color Single Silver Low-E coat on Ocean Green 6 mm (6-6-6) ลดขนาดหน้าต่างชนิด น 1 ประมาณร้อยละ 25 ใช้แสงธรรมชาติภายในอาคารและจัดหาพลังงานด้วยเซลล์แสงอาทิตย์จากมาตรการทั้งหมดทำให้มีค่าพลังงานรวมที่ใช้ตลอดปี 82,195.43 kWh/Year ค่าพลังงานรวมที่จัดหาได้ 82,555.55 kWh/Year ส่งผลให้การใช้พลังงานเป็นบวก คือ สามารถจัดหาพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่าที่ใช้เท่ากับ 360.12 kWh/Year โดยใช้งบประมาณลงทุน 7,701,066.15 บาท คิดเป็นระยะเวลาคืนทุน 28 ปี

1xbet casino downloadLiên kết đăng nhập

เผยอาคารใช้พลังงานเป็นศูนย์ในไทยยังเป็นอาคารขนาดเล็ก-มีจำนวนน้อย

จะเห็นได้ว่าอาคารใช้พลังงานเป็นศูนย์เริ่มมีการออกแบบก่อสร้างและใช้งานในประเทศไทยแล้ว แต่ยังเป็นอาคารขนาดเล็กและมีจำนวนค่อนข้างน้อย ขณะที่การออกแบบก่อสร้างอาคารใช้พลังงานเป็นศูนย์ขนาดกลางและขนาดใหญ่นั้น มีความซับซ้อนมากกว่า เนื่องจากระบบประกอบอาคารที่เพิ่มขึ้นทำให้มีการใช้พลังงานมากขึ้น การลดการใช้พลังงานในอาคารต้องการการทำงานประสานกันแบบบูรณาการของผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งออกแบบบูรณาการแนวทางการประหยัดพลังงานด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องมีการใช้โปรแกรมจำลองพลังงานในอาคาร เพื่อให้มีข้อมูลสนับสนุนทางเลือกการออกแบบต่างๆ ตามแนวทางการออกแบบที่นำเสนอรวมทั้งต้องมีการออกแบบเตรียมพื้นที่เพื่อติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ดังนั้นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดที่จะทำให้การออกแบบอาคารใช้พลังงานเป็นศูนย์ประสบความสำเร็จ ได้แก่ เจ้าของอาคารเนื่องจากกระบวนการดังกล่าวเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องตั้งแต่ออกแบบก่อสร้างไปจนถึงการใช้งานและวัดผลความสำเร็จของอาคาร ปัจจุบันเริ่มมีอาคารขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่ประสบความสำเร็จในการเป็นอาคารใช้พลังงานเป็นศูนย์แล้วในต่างประเทศ เช่น อาคาร School of Design and Environment 4 ความสูง 6 ชั้น ของมหาวิทยาลัย National University of Singapore ซึ่งถือเป็นอาคารที่มีพลังงานสุทธิเป็นศูนย์แห่งแรกของประเทศสิงคโปร์ พื้นที่ 8,500 ตารางเมตร เป็นต้น

จากแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีของประเทศไทย กำหนดให้มีการออกแบบอาคารทั่วไปให้เป็นอาคารใช้พลังงานเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2579 แต่ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการสนับสนุนการออกแบบอาคารใช้พลังงานเป็นศูนย์ในประเทศไทย ซึ่งเรื่องนี้น่าจะเป็นโจทย์ท้าทายความสามารถของกระทรวงพลังงานรวมทั้งสถาปนิกและวิศวกรไทยที่จะช่วยกันพัฒนาอาคารขนาดกลางและขนาดใหญ่ของไทยให้สามารถใช้พลังงานเป็นศูนย์ได้อย่างแท้จริง


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 107 กันยายน-ตุลาคม 2564 คอลัมน์ Cover Story โดย กองบรรณาธิการ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active
    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์
    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
Save
m88 cá cược thể thao trực tuyến cá cược thể thao online cá cược thể thao trực tuyến trang cá độ bóng đá trực tuyến f88 cá độ