1xbet casino download

GO GREEN ไปกับ BCG … Zero Waste Zero Emission


การลดก๊าซเรือนกระจกกำลังเป็นคลื่นลูกเก่าที่จะกลับถาโถมเข้าหาเศรษฐกิจไทยหลังไวรัส COVID-19 มาเยือน เรื่องของการลดก๊าซเรือนกระจกดูเหมือนจะเป็นอาหารจานโปรดของนักวิชาการและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ในฐานะภาคเอกชนมีข้อสังเกตถึงกฎกติกาต่างๆ ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีขั้นสูงในการลดก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นภาครัฐจึงควรก้าวตามแบบรักษาระยะห่าง มิฉะนั้นเราอาจกลายเป็นอาหารจานโปรดของผู้กำหนดกฎกติกาโลกก็เป็นได้ ประเทศไทยถ้าจะ Go Green กับ BCG จะต้องไม่ทิ้งภาคเกษตรและชุมชนไว้ข้างหลัง เนื่องจากเรื่องของความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) นั้นเข้าใจได้ว่า คือการไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศสุทธิเพิ่มขึ้น เป็นทั้งธุรกิจใหม่ เป็นข้อกีดกันทางการค้า เป็นต้นทุนของผู้ประกอบการ หรืออาจเป็นสำนึกรับผิดชอบของทุกคนที่เกิดมาอาศัยในโลกใบเก่าๆ นี้

BCG : Bio Economy-Circular Economy-Green Economy อาจดูคล้ายกับพลาสเตอร์ยาปิดแผลให้กับโลกใบนี้ที่มนุษย์สร้างบาดแผลไว้ BCG ครอบคลุมแทบจะทุกกิจกรรมของมนุษย์ ในฉบับนี้ จึงขอเขียนถึงการใช้พลังงานทดแทนมาช่วยปรับสมดุลราคาสินค้าเกษตร รวมทั้งการซื้อขายคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) จากภาคเกษตร อันเป็นจุดแข็งของประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียน
ขอเริ่มต้นด้วย กรมป่าไม้ หลังจากที่ไม่ต้องคอยจับไม้เถื่อน จึงมีเวลาพัฒนาพื้นที่ป่าธรรมชาติ ป่าเศรษฐกิจ และพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและชนบท กรมป่าไม้ต้องรับผิดชอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 60.76 ล้านไร่และป่าถาวร 3.4 ล้านไร่ ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวก็มีทั้งที่ยังมีสภาพเป็นป่า และอีกส่วนหนึ่งไม่ได้มีสภาพเป็นป่าแล้ว ดังนั้นกรมป่าไม้จึงมีแนวคิดที่จะนำพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้เอกชนเช่าเพื่อปลูกป่าไม้เศรษฐกิจ และแบ่งปันผลประโยชน์ให้กรมป่าไม้ นอกจากรายได้จากการขายไม้และผลผลิตที่ได้จากป่าแล้ว ยังจะได้คาร์บอนเครดิตจากการปลูกและดูแลป่าด้วย ถึงแม้จะเป็นก้าวแรกของกรมป่าไม้ แต่เป็นก้าวสำคัญของประเทศไทย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีหน้าที่อนุรักษ์ป่าชายเลน 1.73 ล้านไร่ ให้คงสภาพความอุดมสมบูรณ์ จึงมีโครงการปลูกป่าเพื่อคาร์บอนเครดิต และเชิญชวนภาคเอกชนเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องมีแรงจูงใจให้ทุกภาคส่วนร่วมดำเนินการจึงต้องมีเครื่องมือทางการตลาด นั่นคือมีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตเพื่อเป็นแรงจูงใจให้มีการดำเนินกิจกรรมเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก

1xbet casino downloadLiên kết đăng nhập

เชื้อเพลิงชีวภาพ (BioFuel) ประกอบด้วย เอทานอลและไบโอดีเซลประเทศไทยเคยมีนโยบายจะ Go Green กับเชื้อเพลิงชีวภาพ แต่หลังจากสถานการณ์พลังงานโลกเปลี่ยนไป เชื้อเพลิงชีวภาพจึงกำลังจะกลายเป็นส่วนเกินของพลังงานทดแทน แต่หากรัฐจะมองให้ลึกลงกว่านี้แล้วจะพบว่าเกือบทุกประเทศที่พัฒนาแล้ว ล้วนใช้กลไกลของพลังงานมาปรับสมดุลราคาพืชผลทางการเกษตร เนื่องจากมีเกษตรกรเกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยซึ่งมีสภาพภูมิศาสตร์เหมาะสมแก่การปลูกพืชตลอด 365 วัน

เอทานอล ผลิตจากมันสำปะหลังประมาณ 55% และจากกากน้ำตาล 45% ขึ้นอยู่กับฤดูกาล ประเทศไทยปลูกอ้อยประมาณ 10 ล้านไร่ ผลผลิตประมาณ 49 ล้านตันต่อปี และปลูกมันสำปะหลัง 8-9 ล้านไร่ โดยปลูกในภาคอีสานถึง 60% ภาคตะวันออก 20% และภาคเหนือ 20%

ถึงแม้ว่าเอทานอลจะใช้วัตถุดิบจากอ้อยและมันสำปะหลังเพียงไม่ถึง 10% ก็ตาม แต่ก็มีผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่นี้มากมาย รวมทั้งโรงงานผลิตเอทานอลที่สร้างเสร็จแต่เปิดดำเนินการไม่ได้ เนื่องจากไม่มีตลาดรองรับอันเนื่องมาจากนโยบายรัฐที่ชัดเจนว่าจะค่อยๆ ลดการส่งเสริมเอทานอลลง

ไบโอดีเซล วัตถุดิบหลักก็คือปาล์มน้ำมัน ซึ่งไทยปลูกไม่น้อยกว่า 6 ล้านไร่ หรือ 5% ของโลก และประมาณ 10% ของมาเลเซีย แต่ละปีจะมีผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ (CPO : Crude Palm Oil) ประมาณ 3 ล้านตัน ส่งออกเพียง 10% ส่วนที่เหลือใช้บริโภคในประเทศ 50% และอีก 50% ใช้ผลิตไบโอดีเซล B100 ผสมในน้ำมันดีเซลในอัตรา 7-10% (B7 และ B10) ในส่วนของการทำน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ไปใช้เป็นอาหารคงไม่เป็นปัญหาอะไรมากนัก หลังจากที่ชี้แจงกันไปแล้วว่าน้ำมันปาล์มไม่มีไขมันทรานส์ (Trans Fat) แต่น้ำมันทรานส์ที่ว่าเกิดจากกระบวนการของอุตสาหกรรมที่นำน้ำมันไปผลิตอาหาร ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับน้ำมันพืชทุกชนิด ส่วนการนำ CPO : Crude Palm Oil มาผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพยังมีปัญหาที่รอแก้ไขอีกมากมาย เช่น เครื่องยนต์ EURO 5 และ 6 มีมาตรฐานสูงกว่าที่จะใช้ Biodiesel และการผลิตน้ำมันดีเซลด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงลงทุนมาก อาจจะเป็นการผูกขาดเพียงบริษัทเดียว

เชื้อเพลิงชีวภาพ (BioFuel) มีห่วงโซ่อุปทานที่ยาวและมีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก จึงไม่ใช่ปัญหาที่แก้ไขง่ายๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อยานยนต์ไฟฟ้ากำลังจะมา และเครื่องยนต์สันดาปภายในกำลังจะไป

โรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ได้มีการกำหนดให้ปลูกพืชพลังงานไม่น้อยกว่า 80% ของเชื้อเพลิงที่จะใช้ในโรงไฟฟ้า ซึ่งได้เริ่มโครงการนำร่องไปแล้ว 150 เมกะวัตต์ อาจใช้พื้นที่ปลูกถึง 150,000 ไร่ หากมีการขยายโครงการตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน (AEDP) ออกไปอีก สมมุติว่ามีโรงไฟฟ้าชุมชนทั้งสิ้น 1,000 เมกะวัตต์ ก็จะใช้พื้นที่ปลูกพืชเกือบ 1 ล้านไร่ ถ้าเปรียบเทียบกับพืชหลักอื่นๆ เช่น ปาล์ม มันสำปะหลัง และอ้อย ก็อาจจะมีสัดส่วนเพียง 5% เท่านั้น แต่น้องใหม่อย่างพืชพลังงานที่มาแรงในความรู้สึกอันเนื่องมาจากเป็นเรื่องใหม่ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมต่างๆ มากมาย เช่น การรวมพื้นที่ปลูกเป็นเกษตรแปลงใหญ่ นำระบบ AI เข้ามาใช้เพื่อให้เป็นเกษตรอัจฉริยะ และที่สำคัญคาร์บอนเครดิตที่จะเกิดจากการปลูกพืชพลังงาน ใครจะเป็นเจ้าของกระทรวงพลังงาน หรือเจ้าของโรงไฟฟ้า หรือตามสำนวนไทยที่ว่า ไม่เห็น้ำ ตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอก ก่งหน้าไม้ ดังนั้นองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO : Thailand Greenhouse Gas Management Organization จึงควรรีบกำหนดราคาซื้อขายและกติกาต่างๆ ให้ชัดเจน เข้าใจง่าย หรือ TGO อาจต้องเขียนแผนธุรกิจ Business Canvas ของการซื้อขายคาร์บอนเครดิตเพื่อให้จูงใจภาคธุรกิจมากขึ้น

Net Zero Emission คือการก่อให้เกิดมลพิษจากกิจกรรมใดๆ หักลบกับการลดมลพิษลงแล้วเท่ากับ 0 สำหรับประเทศไทย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกที่เรามักเรียกชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า TGO เป็นหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบเรื่องนี้ แต่เนื่องจากการคำนวณก๊าซเรือนกระจกนั้นมีความละเอียดอ่อน มีตัวแปรมากมาย เราจึงไม่เคยเห็นเอกสารแจ้งราคาซื้อขายคาร์บอน หรือปริมาณคาร์บอนจากกิจกรรมต่างๆ เช่น การปลูกป่า การใช้พลังงานทดแทนว่าก่อให้เกิดคาร์บอนเครดิตกี่หน่วย กี่ตัน ราคาในตลาดควรเป็นเท่าไรในอนาคตระบบ AI อาจสามารถช่วยประมาณการปริมาณและราคาซื้อขายคาร์บอนจากแอปฯ บนโทรศัพท์มือถือของเรา ถึงแม้จะ Work From Home ก็ตาม


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 107 กันยายน-ตุลาคม 2564 คอลัมน์ บทความ โดย พิชัย ถิ่นสันติสุข

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active
    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์
    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
Save
m88 cá cược thể thao trực tuyến cá cược thể thao online cá cược thể thao trực tuyến trang cá độ bóng đá trực tuyến f88 cá độ