1xbet casino download

นักวิจัย มจธ. พบเทคนิคจัดการขยะอาหารเป็น ‘ไบโอชาร์’ เปลี่ยนของเสียชุมชนเป็นพลังงานทดแทน


ปัญหาขยะอาหาร (Food Waste) เป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังจับตามองเพราะในปี 2562 พบว่าทั่วโลกมีปริมาณอาหารขยะมากกว่า 931 ล้านตัน จากการรายงานของ Food Waste Index Report 2021 โดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาติ (UNEP) ซึ่งนอกจากจะเป็นการทิ้งอาหารให้สูญเปล่าแล้วยังเป็นต้นเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 8% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก เมื่อมองกลับมาที่ประเทศไทย จากรายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2565 โดยกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) พบว่าในปี 2565 มีขยะอาหารสูงถึง 9.68 ล้านตัน โดยคิดเป็นสัดส่วนของขยะอาหารในขยะมูลฝอยชุมชนสูงถึง 38% ซึ่งขยะอาหารส่วนมากจะเป็นเปลือกผลไม้และส่วนที่รับประทานไม่ได้ การจัดการขยะอาหารเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้อีกครั้งจึงเป็นหนทางสำคัญในการแก้ปัญหา เพียงแต่วิธีการนี้ก็ยังไม่ถูกใช้อย่างจริงจัง

1xbet casino downloadLiên kết đăng nhập

“การจัดการขยะอาหารโดยทั่วไป คือ การนำไปทำอาหารสัตว์ หมักทำปุ๋ย ทำน้ำหมักก่อนที่จะนำส่วนที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ไปฝังกลบ ซึ่งกระบวนการนี้มีต้นทุนพอสมควร โดยเฉพาะค่าขนส่งที่ค่อนข้างสูง ทำให้มีผู้นำขยะอาหารไปใช้ประโยชน์ต่อค่อนข้างน้อย ทางทีมวิจัยจึงมองหาทางเลือกในการจัดการขยะอาหารรูปแบบใหม่โดยเปลี่ยนขยะอาหารให้เป็น ‘ไบโอชาร์’ (Biochar) หรือถ่านชีวภาพ ที่สามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานความร้อนทดแทนการใช้ถ่านหินคุณภาพต่ำที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ ดร.ไตรรัตน์ เมืองทองอ่อน ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำงานวิจัย การวิเคราะห์คุณสมบัติของไบโอชาร์ที่เตรียมจากขยะเศษอาหาร (Food Waste-to-Char Characteristics obtained from Various Kinds of Food Waste)

ขั้นตอนการวิจัย เริ่มต้นจากการเก็บข้อมูลปริมาณขยะในมหาวิทยาลัยและเก็บตัวอย่างขยะอาหารที่เป็นเศษอาหารแบบผสมจากโรงอาหาร แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ ขยะเศษอาหาร (เศษผัก เศษเปลือกผลไม้) และขยะเศษขนมปัง มาเปลี่ยนเป็นไบโอชาร์ด้วยกระบวนการไพโรไลซิส หรือกระบวนการความร้อนเคมี โดยใช้เตาปฏิกรณ์แบบเบดนิ่ง (Fixed-bed tube reactor) ที่ช่วยปรับปรุงขยะเศษอาหารให้กลายเป็นไบโอชาร์หรือถ่านชีวมวลภายใต้สภาวะหลายอุณหภูมิ โดยทำการทดลองทำปฏิกิริยาภายใต้สภาวะที่ควบคุมอุณหภูมิและปริมาณไนโตรเจน เป็นเวลา 1 ชม. ปรากฏว่ากระบวนการดังกล่าวได้เปลี่ยนขยะอาหารให้กลายเป็น เชื้อเพลิงแข็ง (Solid fuel) ชาร์ (Char) ชาร์โคล (Charcoal) หรือไบโอชาร์ (Biochar) ซึ่งมีสัดส่วนค่าคาร์บอนที่สูงขึ้น ทำให้มีคุณสมบัติทางเชื้อเพลิงใกล้เคียงถ่านหินคุณภาพต่ำ สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในการทดแทนการใช้ถ่านหินได้ ถือเป็นการผลิตเชื้อเพลิงต้นทุนต่ำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม ที่สามารถนำองค์ความรู้นี้ไปการผลิตไบโอชาร์หรือถ่านชีวภาพไปใช้เองในโรงงาน เพื่อลดต้นทุนในการกำจัดขยะ และลดต้นทุนในการซื้อเชื้อเพลิงทดแทน โดยสามารถวิเคราะห์ความเป็นไปได้สำหรับการชี้วัดความยั่งยืน ทั้งมิติด้านเทคนิค (Technical dimension) มิติด้านเศรษฐศาสตร์ (Economic dimension) โดยเฉพาะการตอบโจทย์มิติด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental dimension) ซึ่งทั้งหมดนี้แนวทางการจัดการความยั่งยืน (Sustainability management) ทั้งนี้สามารถนำไปใช้เพื่อการวางแผนระยะยาว (Long term dimension) ในการสร้างนโนบายและกลยุทธ์สำหรับอนาคตได้

1xbet casino downloadLiên kết đăng nhập

“งานวิจัยนี้ทำให้เราทราบถึงคุณสมบัติทางเชื้อเพลิงของขยะเศษอาหารและชีวมวล วิธีการเชิงเทคนิค รูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม และการออกแบบทางวิศวกรรมที่สามารถนำไปใช้ในกระบวนการผลิต และขยายผลต่อให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศได้ ยกตัวอย่างเช่น คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กระทรวงพลังงาน กระทรวงมหาดไทย กรมควบคุมพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา ตลอดจนเอกชนหรือชุมชน เพื่อนำเทคโนโลยีนี้ ไปใช้ในการลดต้นทุนด้านพลังงาน และจัดการปัญหาขยะอาหารไปพร้อมกัน” ดร.ไตรรัตน์ แนะแนวทางในการส่งต่อและการนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคต

1xbet casino downloadLiên kết đăng nhập

จากองค์ความรู้ที่เกิดขึ้น ดร.ไตรรัตน์ วางแผนในการต่อยอดงานวิจัยต่อไปในอนาคต ที่จะเป็นการศึกษากระบวนการผลิตไบโอชาร์จากขยะอาหารในภาคอุตสาหกรรม เช่น โรงงานอ้อยและน้ำตาล โรงงานผลิตอาหารสัตว์ อาหารปศุสัตว์ และโรงงานอาหารเสริมต่าง ๆ รวมไปถึงขยะอาหารจากประเทศอื่น ๆ ซึ่งทำให้ได้ ไบโอชาร์ที่มีคุณสมบัติที่ต่างกัน

“ขยะอาหารแต่ละชนิดจะมีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน ทีมวิจัยเชื่อว่ายังมีขยะอาหารอีกมากที่สามารถเปลี่ยนเป็นไบโอชาร์ที่มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นอยู่อีก การวิจัยครั้งนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการจัดการปัญหาขยะอาหาร โดยทำให้ขยะอาหารสามารถนำมาใช้ประโยชน์ และกลับมาสร้างมูลค่าใหม่ให้กับอุตสาหกรรมได้อีกครั้ง เป็นทางเลือกการใช้ประโยชน์เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน (Sustainability) ลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น (Waste reduction) และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน (Decarbonisation) เพื่อให้สิ่งแวดล้อมกลับมาดีขึ้นได้อีกครั้ง ” ดร.ไตรรัตน์ กล่าวสรุป


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active
    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์
    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
Save
m88 cá cược thể thao trực tuyến cá cược thể thao online cá cược thể thao trực tuyến trang cá độ bóng đá trực tuyến f88 cá độ