1xbet casino download

เจาะปัญหาแก้ไฟแพงระยะสั้น สู่การผลักดันปรับโครงสร้างค่าไฟระยะยาวโดยพึ่งพาพลังงานหมุนเวียน


ปัญหาบิลค่าไฟแพงเป็นประเด็นร้อนตลอดช่วงเมษายนที่ผ่านมาและเป็นไปได้ว่าปัญหานี้จะร้อนแรงอีกครั้งเมื่อถึงเวลาที่มีการปรับขึ้นค่า Ft ความเดือดร้อนจากปัญหาไฟแพง นำมาสู่การตั้งคำถามถึงสาเหตุและการปรับโครงสร้างราคาค่าไฟให้ถูกลง ขณะที่ทางรัฐบาลรับมือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้วยการตรึง/ลดค่า Ft อย่างที่เคยทำมา ซึ่งไม่ใช่ทางแก้อย่างยั่งยืนในระยะยาว เพราะการตรึง Ft ไว้ไม่ต่างจากการพักหนี้ในระยะสั้น อีกไม่ช้าไม่นานภาระดังกล่าวก็จะยังตกไปยังประชาชนอยู่ดี

เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมและแก้ไขปัญหานี้ในระยะยาว จำเป็นต้องพิจารณาโครงสร้างราคาไฟฟ้าที่ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือ “ค่าไฟฟ้าฐาน” หมายถึงต้นทุนระยะยาวจากการสร้างโรงไฟฟ้าหรือระบบสายส่งต่าง ๆ ส่วนที่สองคือ “ค่าไฟฟ้าผันแปร” หรือ “ค่า Ft” นั่นเอง และส่วนสุดท้ายคือ “ภาษี VAT”

โดยค่า Ft เป็นส่วนสำคัญที่ถูกพูดถึงว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของค่าไฟฟ้าที่แพงมากขึ้น โดย Ft เป็นราคาที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนระยะสั้น เช่น ค่าเชื้อเพลิงนำเข้าอย่างก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากนโยบายของรัฐ ซึ่งโดยปกติจะมีการปรับเปลี่ยนทุก ๆ 4 เดือนโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ปัจจัยกระทบค่า Ft ที่สำคัญคือ สถานการณ์การเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปลายปี 2564 และปัญหาความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ทำให้ราคาก๊าซ LNG ในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นแบบก้าวกระโดดได้ส่งผลโดยตรงต่อค่าไฟฟ้าของไทย โดยในอดีตประเทศไทยเคยใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า แต่จากปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยชะลอตัวเนื่องจากเป็นช่วงปลายสัมปทานและการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศเมียนมาที่เริ่มลดลงตามสัญญาของผู้ผลิต ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าก๊าซ LNG จากต่างประเทศมากขึ้น

กราฟที่ 1 ปริมาณก๊าซธรรมชาติใช้ในการผลิตไฟฟ้าในช่วงปี พ.ศ.2555 – 2565

1xbet casino downloadLiên kết đăng nhập

ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)

โดยเมื่อพิจารณาแหล่งพลังงานที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย จะพบว่าก๊าซธรรมชาติ มีสัดส่วนมากกว่า 50% ดังนั้นเมื่อราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกดีดตัวสูงขึ้น ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่อ่อนค่าลง จึงส่งผลให้ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ข้อมูลต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า ราคาก๊าซธรรมชาติที่ขายให้กับโรงไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า Pool gas ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2564 และดีดตัวอย่างรวดเร็วในปี 2565 ซึ่งเกิดจากการที่ไทยเร่งหาก๊าซธรรมชาติเหลวนำเข้าเพื่อทดแทนก๊าซในอ่าวไทยและจากแหล่งในพม่าที่ลดลง โดยการนำเข้า LNG มีราคาสูงกว่าก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอ่าวไทยมากกว่า 2 เท่า ส่งผลให้ค่า Ft จริงต้องปรับเพิ่มตามราคา Pool gas แต่จากข้อมูลในแผนภาพแสดงให้เห็นว่าค่า Ft ขายปลีกที่จัดเก็บอยู่นั้น ไม่สะท้อนต้นทุนเชื้อเพลิงที่แท้จริงมาตั้งแต่ปี 2565 เนื่องจากรัฐบาลมีมาตรการชะลอการปรับราคาค่า Ft และทยอยปรับขึ้นในลักษณะขั้นบันได

กราฟที่ 2 ประมาณการค่า Ft ขายปลีกและที่แท้จริงในช่วง พ.ศ.2555 – 2566

1xbet casino downloadLiên kết đăng nhập

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)

แล้วต้นทุนที่แท้จริงหายไปไหน ใครจ่าย

จากนโยบายบรรเทาค่าไฟของรัฐในช่วงปี 2564-2565 ทำให้ค่าไฟที่เรียกเก็บจริงจากประชาชนต่ำกว่าต้นทุนจริงที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับภาระ ซึ่งเป็นจำนวนเงินกว่า 150,000 ล้านบาท แต่ค่าใช้จ่ายนี้ไม่หายไปไหนและจะเริ่มมีการทยอยเก็บเงินจากผู้ใช้ไฟฟ้าเพื่อชดเชยต้นทุนคืนให้ กฟผ. ทั้งนี้หากเรียกเก็บคืนทันทีภายในเดือนสิงหาคมจะทำให้ค่าไฟเพิ่มสูงขึ้นจาก 4.72 เป็น 6.67 บาท รัฐบาลจึงมีแนวทางเรียกเก็บคืนภายใน 2 ปีเริ่มตั้งแต่เดือนงวดพฤษภาคม 2566 ซึ่งทำให้ค่าไฟเพิ่มขึ้นเป็น 4.77 บาทต่อหน่วย แต่ภายใต้เงื่อนไขที่ราคาก๊าซไม่ปรับขึ้น ทั้งนี้หากราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกปรับตัวขึ้น ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยที่ต้องจ่ายก็จะมีโอกาสแพงขึ้นได้อีก

ดังนั้นนโยบายลดค่าไฟฟ้า ผ่านการตรึงค่า Ft เป็นเหมือนมาตราการพักหนี้ระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากโครงสร้างกิจการไฟฟ้าประเทศไทยยังคงเป็นลักษณะการส่งตรงต้นทุนไปยังผู้บริโภค หรือที่เรียกว่า Cost pass-through ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนโรงไฟฟ้าไม่ได้แบกรับความเสี่ยงของราคาเชื้อเพลิงที่มีความผันผวน ท้ายที่สุดผู้ใช้ไฟก็จะต้องรับภาระเพียงแค่ช้าหรือเร็วเท่านั้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการปรับลดหรือตรึงค่า Ft เป็นเครื่องมือที่ได้ผลเร็วในการชะลอค่าไฟไม่ให้ขึ้นก้าวกระโดดรวดเร็วเกินไปจนกระทบเศรษฐกิจและปากท้องประชาชนเท่านั้น แต่ไม่ใช่มาตรการระยะยาวที่ยั่งยืน

อีกประการที่สำคัญคือการเลือกใช้มาตรการตรึงหรือลดค่า Ft เป็นนโยบายเร่งด่วนที่ใช้ในการหาเสียงของหลายพรรค จึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ

ในระยะยาว การให้ความสำคัญกับการกระจายประเภทของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของประเทศยังเป็นอีกแนวทางสำคัญที่สามารถกระจายความเสี่ยงของราคาพลังงานที่ผันผวนในอนาคตได้ การพึ่งพาเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป โดยเฉพาะเชื้อเพลิงที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศย่อมส่งผลให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าจะผันแปรตามราคาตลาดโลกซึ่งมีหลายปัจจัยเสี่ยงที่รัฐบาลไม่สามารถควบคุมได้ การเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้ายังเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งในการกระจายประเภทเชื้อเพลิง ซึ่งสามารถช่วยลดสัดส่วนการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ อันเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเพิ่มขึ้นของราคาค่าไฟในปัจจุบัน

พลังงานหมุนเวียน มีต้นทุนที่สูงกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลในปัจจุบันหรือไม่ ?

สำหรับต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเมื่อเปรียบเทียบกับก๊าซธรรมชาตินั้นน้อยกว่าต้นทุนค่าเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติอยู่มาก โดยปัจจุบันแนวโน้มต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมมีแนวโน้มลดต่ำลงมากเมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติหรือถ่านหิน เนื่องจากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นทำให้ต้นทุนถูกลงและไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง ในขณะที่ก๊าซธรรมชาติและถ่านหินมีแนวโน้มผันผวนและสูงขึ้นได้จากตลาดโลกและมาตราการ Carbon pricing ที่จะถูกนำมาใช้เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ ต้นทุนของพลังงานหมุนเวียน เริ่มต้นจากการที่ภาครัฐได้มีมาตรการจูงใจให้มีการลงทุนในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ผ่านมาตรการรับซื้อไฟฟ้าแบบ Adder อัตราซื้อแบบเพิ่มส่วนบวก และ Feed-in Tariff (FiT) หรืออัตราการรับซื้อไฟฟ้าคงที่ โดยทั้งสองมาตรการผู้ลงทุนจะได้รับค่าขายไฟเพิ่มและไม่ผันแปรตามค่าไฟฐานและค่า Ft ทั้งนี้ข้อมูลของกระทรวงพลังงานแสดงให้เห็นว่าการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่เข้าข่ายรับสิทธิ์ตามมาตราการ Adder และ FiT ของรัฐ มีเพิ่มขึ้นทุกปีในช่วง 2553-2563 โดยมีอัตราเฉลี่ยเติบโตต่อปีอยู่ที่ (CAGR) 11.2% แต่จากข้อมูลของ กกพ. กลับชี้ให้เห็นว่าค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนพลังงานทดแทนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20-30 สตางค์ต่อหน่วยไฟฟ้าและในปี 2566 ลดลงต่ำกว่า 20 สตางค์ ซึ่งจะทำให้โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการ Adder จะทยอยหมดไป จากมาตรการกำหนดระยะเวลาในการสนับสนุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมที่จะให้การสนับสนุนเพียง 10 ปี และโรงไฟฟ้าชีวมวล ขยะ น้ำที่มีขนาดเล็กเพียง 7 ปี ทำให้ปัจจุบันต้นทุนการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนจากนโยบายของรัฐในส่วนนี้ลดน้อยลงเรื่อยๆ และคงเหลือเพียงต้นทุนจากนโยบายการรับซื้อพลังงานไฟฟ้า (FiT) เป็นส่วนใหญ่

กราฟที่ 3 ค่าใช้จ่ายการสนับสนุนพลังงานมนุนเวียนผ่านมาตรการ Adder/FiT ในช่วงปี พ.ศ. 2562 – 2566

1xbet casino downloadLiên kết đăng nhập

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)

กราฟที่ 4 สถิติการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่ได้รับค่า Adder/FiT ในช่วง พ.ศ.2553 – 2563

1xbet casino downloadLiên kết đăng nhập

ที่มา: รายงานพลังงานทดแทนของประเทศไทย พ.ศ.2557 – 2563

ในมิติของการวางแผนและจัดการระบบไฟฟ้านั้นจำเป็นต้องพิจารณาทั้งฝั่งผลิตไฟฟ้าควบคู่กับฝั่งความต้องการใช้ไฟฟ้าของสังคมที่เปลี่ยนไปด้วย เนื่องจากพฤติกรรมผู้ใช้มีแนวโน้มเปลี่ยนไปจากการเข้ามาของรถ EV หรือการรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สามารถเปลี่ยนผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าโดยติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อใช้เอง (Solar rooftop) ดังนั้นการจัดการระบบไฟฟ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการดำเนินการ การลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพของโครงข่ายไฟฟ้าให้สอดรับกับความต้องการใช้เทคโนโลยีชนิดใหม่ที่เปลี่ยนไปจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งการลงทุนหรือต้นทุนดังกล่าวนี้ประเทศจำเป็นต้องมีการลงทุนเพิ่มอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่ใช่ต้นทุนเฉพาะที่เกิดจากการบริการจัดการพลังงานหมุนเวียนเท่านั้น

พลังงานหมุนเวียนกับทางออกทางพลังงานที่ยั่งยืนของไทย 

ท้ายที่สุด การตื่นตัวในเรื่องค่าไฟแพงครั้งนี้ คงเป็นจุดเริ่มต้นให้ตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับโครงสร้างไฟฟ้าระยะยาว ที่ไม่ใช่เพียงการปรับลดค่า Ft ที่เป็นเพียงมาตรการลดผลกระทบระยะสั้นเท่านั้น หากประเทศไทยยังคงพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติในสัดส่วนที่มากอย่างในปัจจุบัน เราจะยังคงต้องแบกรับความเสี่ยงค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นเพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง และความเสี่ยงจากความผันผวนของต้นทุนเชื้อเพลิงอยู่

แม้ว่าการตรึงค่า Ft จะช่วยรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจก็ตาม แต่มาตรการนี้ไม่เหมาะกับการแก้ปัญหาค่าไฟในระยะยาว และสุดท้ายผู้ใช้ไฟฟ้าต้องรับภาระเหมือนเดิม 

นอกจากนั้น การเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดภายในประเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยกระจายความเสี่ยง และรักษาเสถียรภาพค่าไฟในอนาคต แนวโน้มต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมที่ถูกลงจะสามารถทำให้ค่าไฟมีแนวโน้มลดลงได้ และพลังงานสะอาดเหล่านี้ไม่ต้องอาศัยเชื้อเพลิงนำเข้าซึ่งมีความผันผวนด้านราคา แต่ภาครัฐต้องมีการลงทุนในระบบการจัดการพลังงานทั้งภาคการผลิตและใช้ไฟฟ้า ตลอดจนระบบสายส่งที่เหมาะสมกับแหล่งเชื้อเพลิงพลังงานหมุนเวียน เพื่อการรักษาเสถียรภาพการจ่ายไฟและสร้างความยั่งยืนต่อไปในอนาคต

รายชื่อผู้เขียน

  • ดร.สิริภา จุลกาญจน์ สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ดร.ธรินทร์ญา สุภาษา Agora Energiewende
  • ชาคร เลิศนิทัศน์ TDRI
ภายใต้โครงการพลังงานสะอาด เข้าถึงได้และมั่นคง สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Clean, Affordable, and Secure Energy for Southeast Asia: CASE) ซึ่งดำเนินการร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active
    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์
    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
Save
m88 cá cược thể thao trực tuyến cá cược thể thao online cá cược thể thao trực tuyến trang cá độ bóng đá trực tuyến f88 cá độ