1xbet casino download

วว.จับมือ TBIA นำร่องใช้พลาสติกชีวภาพบรรจุขยะอินทรีย์หมักเป็นวัสดุปรับปรุงดินได้ผลสำเร็จตามคาด พร้อมสานต่อเป็นรูปธรรมตามแนวทาง Circular Economy


กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์  (ศนก.)   นำโดย ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผอ.ศนก. พร้อมทีมงาน ได้แก่ ดร.กนกอร  อัมพรายน์  นักวิจัยอาวุโส ศนก. และคณะทำงานห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน ปุ๋ย และพืช (SFP Lab) นำเสนอผลงาน “การใช้พลาสติกชีวภาพบรรจุขยะอินทรีย์หมักเป็นวัสดุปรับปรุงดินและวิจารณ์โครงการกับชุมชนนำร่อง” ภายใต้การดำเนินโครงการชุมชนนำร่องใช้พลาสติกชีวภาพบรรจุขยะอินทรีย์หมักเป็นวัสดุปรับปรุงดิน ในตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมกับ นายวิบูลย์ พึงประเสริฐ นายกสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย (TBIA) ดร.วันทนีย์ จองคำ ที่ปรึกษาสมาคม บริษัท ไทยวา และบริษัท SMS Corporation โดยมีผู้เข้าร่วมรับฟังและให้ความคิดเห็นจากหลายภาคส่วน อาทิ เทศบาลตำบลท่าข้าม โรงไฟฟ้าบางปะกง อำเภอบางปะกง ตัวแทนชุมชนหมู่ 3 ตัวแทนชุมชนหมู่ 4 และหมู่ 7 ตำบลท่าข้าม เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ทั้งนี้ วว. ดำเนินโครงการชุมชนนำร่องใช้พลาสติกชีวภาพบรรจุขยะอินทรีย์หมักเป็นวัสดุปรับปรุงดินร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย โดยนำถุงพลาสติกชีวภาพมาใช้ในการคัดแยกขยะอินทรีย์ แล้วจัดเก็บเพื่อนำมาหมักรวมกับมูลสัตว์พัฒนาเป็นสารปรับปรุงดินที่สามารถเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุภายในดิน ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงขึ้นและช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะอินทรีย์ร่วมกับการใช้ถุงพลาสติกชีวภาพ สร้างความรู้ความเข้าใจในการผลิตวัสดุปรับปรุงดินจากขยะอินทรีย์ วิเคราะห์และทดสอบคุณสมบัติของวัสดุปรับปรุงดิน เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในการหมุนเวียนใช้เศษอาหาร ขยะอินทรีย์ และพลาสติกชีวภาพ ในการรักษาสภาวะแวดล้อมของประเทศไทย อันจะก่อให้เกิดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการหมุนเวียนในประเทศต่อไป

1xbet casino downloadLiên kết đăng nhập

จากการดำเนินโครงการได้ผลผลิต (Output) คือ การย่อยสลายของพลาสติกชีวภาพในสภาวะการหมักร่วมกับขยะอินทรีย์ในชุมชนภายในระยะเวลา 2 เดือน ได้วัสดุปรับปรุงดินที่มีส่วนผสมของพลาสติกชีวภาพที่มีคุณภาพดี สามารถใช้เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุภายในดิน เกิดชุมชนต้นแบบในการผลิตวัสดุปรับปรุงดินจากขยะอินทรีย์ชุมชนที่มีส่วนผสมของพลาสติกชีวภาพ จำนวน 3 ชุมชน และได้ผลลัพธ์ (Outcome) คือกระตุ้นให้เกิดความรู้ความเข้าใจและการตื่นตัวด้านระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินที่มีสภาพเสื่อมโทรมด้วยการใช้วัสดุอินทรีย์และสร้างความตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติกและใช้พลาสติกชีวภาพเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การจัดการขยะให้เหลือศูนย์ (Zero Waste) ตามแนวทาง Circular Economy โดยผลสำเร็จของโครงการฯ จะนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม ณ ตำบลท่าข้าม พร้อมขยายผลไปยังชุมชนอื่นที่สนใจในอำเภอบางปะกง และขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ ของประเทศต่อไป  

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active
    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์
    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
Save
m88 cá cược thể thao trực tuyến cá cược thể thao online cá cược thể thao trực tuyến trang cá độ bóng đá trực tuyến f88 cá độ