1xbet casino download

โครงการนำร่อง T77 ต้นแบบชุมชนพลังงานสีเขียวอัจฉริยะ


เป็นเรื่องราวที่ผลักดันกันมานานในประเทศไทย สำหรับเรื่องของการติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เอง รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าระหว่างผู้ที่ผลิตเหลือใช้ และผลิตไม่พอใช้ ซึ่งล่าสุดบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แนวหน้าของไทย อย่าง แสนสิริ ก็ได้เริ่มบุกเบิกโครงการดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว โดยจับมือกับ บีซีพีจี ผู้นำในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เริ่มใช้ระบบแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้ารูปแบบใหม่แบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer) ด้วยการทำธุรกรรมโดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ในโครงการที่พักอาศัยที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนำร่องระบบแลกเปลี่ยนพลังงานที่โครงการทาวน์สุขุมวิท 77 หรือ T77 ก่อนจะเริ่มมีการซื้อขายอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา


นับเป็นการประสานความร่วมมือระหว่างพันธมิตรระดับกลยุทธ์ในการผสานความเชี่ยวชาญข้ามอุตสาหกรรมของภาคเอกชนในระดับมหภาค ระหว่างผู้นำในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และพลังงานทดแทนของไทย ภายใต้ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการพลังงานเพื่ออนาคต (Energy management for the future) ด้วยการสร้างปรากฏการณ์เปลี่ยน Consumer เป็น “Prosumer” ยุคแห่งการผลิตโดยผู้บริโภคซึ่งคนไทยสามารถเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคพลังงานสะอาดจากพลังงานไฟฟ้าทดแทน อีกทั้งยังสามารถขายพลังงานส่วนเกินที่ผลิตได้ให้กับสมาชิกในชุมชน พร้อมมุ่งเดินหน้าสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการพัฒนาแนวทางการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน (Green Sustainable Living) รวมทั้งการความยั่งยืนในการใช้พลังงานทดแทนในประเทศไทยไปอีกขั้น คาดว่าจะสามารถลดต้นทุนค่าไฟฟ้าและลดการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการลดคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าการปลูกป่าถึง 400 ไร่ ตามแนวคิด Low Cost-Low Carbon ด้วยกำลังการผลิตพลังงานสะอาดถึง 20% ของปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมดในโครงการ T77 ซึ่งคาดว่าไฟฟ้าสะอาดทุกหน่วยที่ผลิตได้จะช่วยประหยัดค่าไฟต่อหน่วยให้ลูกบ้านแสนสิริได้ถึง 15% พร้อมเผยแผนการระยะยาวในการนำไปใช้ในโครงการอสังหาริมทรัพย์ของแสนสิริกว่า 20 โครงการภายในปี ค.ศ. 2018 ภายใต้แผน พัฒนาชุมชนพลังงานสีเขียวอัจฉริยะ (Smart Green Energy Community)

อุทัย อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “แสนสิริมุ่งมั่นและให้ความสำคัญกับการสร้างชุมชนที่พักอาศัยอย่างยั่งยืนภายใต้แนวทางที่ชาญฉลาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และประหยัดพลังงาน (Green Sustainable Living) ด้วยการแสวงหาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นวาระสำคัญในการดำเนินธุรกิจของแสนสิริมาอย่างยาวนาน โดยหนึ่งในเป้าหมายของแสนสิริคือการนำพลังงานทดแทนมาใช้ในทุกโครงการ ภายใต้ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการพลังงานเพื่ออนาคต (Energy management for the future) ประกอบกับในปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคากำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เราจึงได้ริเริ่มนำระบบการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ไปติดตั้งในหลายๆ โครงการที่กำลังก่อสร้างอยู่

การจับมือกับบีซีพีจีในฐานะพันธมิตรระดับกลยุทธ์ (Strategic partnership) ในครั้งนี้ นับเป็นการผลักดันวาระ Green Sustainable Living ของแสนสิริให้ก้าวล้ำไปอีกระดับ ด้วยการวางระบบพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์แบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer) โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในที่พักอาศัย ที่เราคัดสรรระบบที่เหมาะสำหรับแต่ละคอนโดมิเนียมและบ้านเดี่ยวกว่า 20 โครงการ โดยนับเป็นครั้งแรกของอีกขั้นในการพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานสำหรับโครงการที่พักอาศัยทั้งในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นการแลกเปลี่ยนพลังงานผ่านระบบบล็อกเชนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งการปฏิวัติระบบการจัดจำหน่ายพลังงานในครั้งนี้จะช่วยสร้างประสบการณ์ในการพักอาศัยที่มีความยั่งยืนให้กับลูกบ้านของแสนสิริ โดยมีไฮไลท์สำคัญคือการที่ลูกบ้านจะได้เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคในเวลาเดียวกันในฐานะ Prosumer เป็นครั้งแรก ทำให้เราสามารถสร้างระบบการแลกเปลี่ยนใหม่ในตลาดพลังงานที่ก้าวข้ามข้อจำกัดเดิมๆ โดยประโยชน์ที่จะเกิดอย่างชัดเจนแก่ลูกบ้านแสนสิริที่อาศัยในโครงการที่มีการวางระบบนี้คือ สามารถประหยัดค่าไฟฟ้า โดยไฟฟ้าสะอาดทุกหน่วยที่ผลิตได้จะช่วยประหยัดค่าไฟต่อหน่วยได้ถึง 15% และยังสร้างความภูมิใจให้ลูกบ้านจากการมีส่วนร่วมในดูแลสิ่งแวดล้อมโดยการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกำลังการผลิตพลังงานสะอาดถึง 20% ของปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมดในโครงการ T77 ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 530 ตันต่อปีโดยประมาณ หรือเท่ากับการปลูกป่าจำนวน 400 ไร่”

บีซีพีจีและแสนสิริได้ติดตั้งระบบแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชนแล้วที่โครงการทาวน์สุขุมวิท 77 (Town Sukhumvit 77) หรือ ที 77 (T77) ซึ่งเป็นโครงการเมกะโปรเจ็กต์ (Mega Project) ของแสนสิริที่ประกอบด้วยที่พักอาศัยหลากหลายรูปแบบและไลฟ์สไตล์ฮับที่สมบูรณ์แบบบนพื้นที่กว่า 50 ไร่ในใจกลางสุขุมวิท 77 และเริ่มมีการซื้อขายอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน โดยระบบพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคามีกำลังการผลิตติดตั้ง 635 กิโลวัตต์ แบ่งสัดส่วนการใช้เป็น 54 กิโลวัตต์ สำหรับฮาบิโตะมอลล์ (Habito Mall) ซึ่งเป็นไลฟ์สไตล์คอมมูนิตี้มอลล์ภายในโครงการ 413 กิโลวัตต์สำหรับโรงเรียนนานาชาติบางกอกเพรพ (Bangkok Prep International School) และ 168 กิโลวัตต์ สำหรับพาร์ค คอร์ท คอนโดมิเนียม (Park Court Condominium) รวมถึงโรงพยาบาลฟันที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกในการแลกเปลี่ยนพลังงานภายในโครงการ นอกจากนั้น ยังติดตั้งระบบนี้ในโรงงานผลิตแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปของแสนสิริด้วยกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า 150 กิโลวัตต์ โดยภายในปี 2564 แสนสิริมีแผนที่ติดตั้งระบบแลกเปลี่ยนซื้อขายพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ผ่านอินเทอร์เน็ตในโครงการใหม่ๆ กว่า 31 โครงการ และมีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้ารวม 2 เมกะวัตต์

บัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บีซีพีจีมุ่งมั่นสร้างอนาคตที่ยั่งยืนทางพลังงานร่วมกับพันธมิตรต่างๆ โดยนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ชาญฉลาดมาใช้ในการบริหารจัดการไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเริ่มต้นจากโครงการนำร่องแลกเปลี่ยนซื้อขายไฟฟ้าทางอินเทอร์เน็ตที่โครงการที 77 (T77) ร่วมกับแสนสิริ และพาวเวอร์ เล็ดเจอร์ ผู้บุกเบิกแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนพลังงานทดแทนระดับโลกจากออสเตรเลีย ซึ่งเราเริ่มซื้อขายจริงในเดือนกันยายนหลังจากช่วงนำร่อง ถือเป็นก้าวแรกของเราในโครงการที่พักอาศัยของประเทศไทย และเป็นการเปิดใช้แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน-ซื้อขายพลังงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่งผลให้ลูกบ้านแสนสิริกลายเป็นทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิตไฟฟ้าหรือ Prosumer สามารถซื้อขายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดที่เหลือใช้ผ่านอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้ร่วมโครงการ โดยจะช่วยประหยัดค่าไฟได้ประมาณ 15% ของค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน”

ข้อดีของการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ คือช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยน-ซื้อขายพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาดแบบเรียลไทม์ผ่านเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer) ผ่านแพลตฟอร์มที่มีความปลอดภัย รวดเร็ว โปร่งใส และปราศจากข้อผิดพลาดในการทำธุรกรรมโดยไม่ต้องมีคนกลาง ด้วยราคาที่ถูกลงและช่วยลดมลภาวะด้วยการใช้พลังงานสะอาด ตามแนวคิด Low Cost, Low Carbon ในโครงการนำร่องที่ T77 นี้ มีผู้ร่วมโครงการ 4 อาคาร โดยมีระบบกักเก็บพลังงานหรือแบตเตอรี่ภายในโครงการ และการเชื่อมโยงกับสายส่งของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ซึ่งแต่ละรายมีพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า (Load Profile) และศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่แตกต่างกัน

โดยในเบื้องต้น ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์รูฟท็อปในแต่ละอาคาร จะนำไปใช้ภายในอาคาร เพื่อให้แต่ละอาคารสามารถใช้ไฟฟ้าในต้นทุนที่ต่ำกว่าไฟฟ้าที่เคยซื้ออยู่ ในกรณีที่มีไฟฟ้าส่วนเกินจากการผลิตใช้ภายในอาคาร แต่ละอาคารสามารถนำไฟฟ้านั้นแลกเปลี่ยนกันภายในแพลตฟอร์ม โดยภายในหนึ่งเสี้ยววินาทีนั้น สามารถเกิดสถานการณ์การใช้และการผลิตไฟฟ้าได้หลายรูปแบบ ทั้งอาคารก็จะผลิตได้เกินความต้องการ หรืออาคารที่ผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ สำหรับในกรณีที่ไฟฟ้าที่ผลิตได้มีมากกว่าความต้องการที่ใช้เอง ระบบก็จะนำไฟส่วนเกินขายให้ผู้ใช้รายอื่นด้วยระบบ P2P หากยังมีเหลืออีกก็จะขายให้ระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) เพื่อเก็บไว้ขายในเวลาอื่นๆ และหากระบบกักเก็บเต็ม ไฟฟ้าก็จะถูกส่งขายเข้าระบบของ กฟน. ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงกว่าที่สามารถผลิตได้ ระบบก็จะทำการซื้อจากระบบ P2P จากระบบกักเก็บพลังงาน และจาก กฟน. ตามลำดับ

การดำเนินการทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นได้โดยเทคโนโลยีบล็อกเชนที่นำมาใช้เพื่อประมวลผลถึงความเหมาะสมในการกำหนดผู้ซื้อและผู้ขายในความถี่ระดับเสี้ยววินาทีโดยสามารถใช้แอพพลิเคชั่นของบีซีพีจี ได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ “โครงการนำร่องแลกเปลี่ยนซื้อขายไฟฟ้าที่ T77 นี้ ถือเป็นหนึ่งในโครงการขนาดใหญ่ที่สุดของโลกทั้งยังเป็นโครงการอันดับแรกๆ ของโลกอีกด้วย ในเบื้องต้นคาดว่าโครงการนำร่องนี้จะสามารถผลิตไฟฟ้าให้กับ Community นี้ได้ถึงร้อยละ 20 ของความต้องการใช้ไฟฟ้าโดยรวม ซึ่งนอกจากจะเป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้ด้วยตนเอง และสามารถแลกเปลี่ยนซื้อขายได้ด้วยระบบ P2P แล้ว การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับแต่ละอาคารหรือแต่ละบ้าน เพิ่มโอกาสในการจัดหาสินเชื่ออีกด้วย” บัณฑิต กล่าวเพิ่มเติม

เดวิด มาร์ติน กรรมการผู้จัดการและหนึ่งในผู้ก่อตั้งพาวเวอร์ เล็ดเจอร์ ผู้พัฒนาเทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนและซื้อขายพลังงานไฟฟ้าในระบบบล็อกเชนเสริมว่า “วิสัยทัศน์ของเราคือการนำเอาอำนาจในการบริหารจัดการด้านพลังงานมาสู่มือผู้บริโภคทั่วโลก (Democratization of Energy) โดยที่ยังคงไว้ซึ่งคุณค่าของเครือข่ายการกระจายพลังงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เรามุ่งมั่นที่จะปฏิรูปอุตสาหกรรมพลังงานโดยนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถประหยัดค่าไฟฟ้า จำหน่ายพลังงานเหลือใช้ในราคาที่ดี และใช้พลังงานที่สะอาดมากขึ้น การนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในระบบการแลกเปลี่ยนและซื้อขายพลังงาน จะช่วยสร้างแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนและซื้อขายแบบอัตโนมัติสำหรับทั้งอาคารที่พักอาศัยและอาคารเพื่อการพาณิชย์ในการขายพลังงานที่เหลือใช้ให้กับลูกค้าที่สามารถเลือกได้ในราคาที่พอใจ การร่วมมือกับแสนสิริและบีซีพีจีนับเป็นก้าวแรกของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ส่งเสริมให้เกิดการรวมพลังกันระหว่างผู้บริโภค ชุมชน และผู้ผลิตพลังงานเพื่อร่วมกันสร้างอนาคตที่ยั่งยืนทางด้านพลังงาน”

สำหรับการแลกเปลี่ยน-ซื้อขายไฟฟ้าระหว่างอาคารนั้นทุกฝ่ายสามารถเป็นได้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ผ่านการตกลงกันไว้ล่วงหน้าด้วย Smart Contract โดยผู้ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าจะซื้อไฟฟ้าจากผู้ที่ผลิตได้เหลือใช้ด้วยราคาที่ต่ำที่สุด ส่วนผู้ที่ผลิตได้เกินจากความต้องการก็จะขายให้กับผู้ซื้อที่ให้ราคาสูงที่สุด ทั้งนี้ ในการทำธุรกรรมจะใช้ Sparkz Token ซึ่งเปรียบเสมือนกับคูปองในศูนย์อาหาร และเป็นเพียงสัญลักษณ์ในการแลกเปลี่ยนไฟซื้อขายในระบบเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ Cryptocurrency และไม่มีผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนใดๆนับเป็นอีกหนึ่งข้อได้เปรียบของแพลตฟอร์มของเราที่สามารถแยกระดับการเข้าถึงและการแลกเปลี่ยนเป็น 2 ขั้นตอน คือระหว่างผู้บริโภคกับบีซีพีจี และระหว่างบีซีพีจีกับพาวเวอร์ เล็ดเจอร์เพื่อปิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคในเรื่อง Cryptocurrency “ความสำเร็จที่ผ่านมาของเราในระบบ P2P Energy Trading มีตัวอย่างเช่น การร่วมมือกับกับเวสเทิร์นพาวเวอร์และมหาวิทยาลัยเคอร์ตินในออสเตรเลีย และการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์นในชิคาโก สหรัฐอเมริกา ซึ่งเรามั่นใจว่าแพลตฟอร์มนี้จะประสบความสำเร็จอย่างดีในประเทศไทยเช่นกัน” เดวิด กล่าวเสริม

“เป้าหมายที่สำคัญที่สุดของแสนสิริในการนำเทคโนโลยีระดับโลกในด้านนวัตกรรมพลังงานสะอาดเพื่อการประหยัดพลังงานมานำร่องทดลองใช้ครั้งนี้ไม่ใช่การมุ่งหวังถึงรายได้จากการขายไฟฟ้า แต่เรามุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ในการพักอาศัยที่เหนือชั้นและสร้างชุมชนที่พักอาศัยที่มีความยั่งยืนในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ เรามุ่งหวังให้เป็นกรณีศึกษาถึงความสำเร็จในการใช้ระบบแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าในโครงการที่พักอาศัยหรือภายในชุมชนในระดับมหภาค ที่จะช่วยสนับสนุนการเดินหน้าประเทศไทยสู่ประชาธิปไตยทางพลังงานอย่างเช่นความสำเร็จที่เกิดขึ้นแล้วในหลายๆ ประเทศ รวมทั้งการมีส่วนร่วม
ในการช่วยลดภาระของภาครัฐในการลงทุนสร้างโรงผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น แสนสิริยังคงมุ่งมั่นที่จะสรรหาพันธมิตรเพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมและนวัตกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์เพื่อเดินหน้าสู่การพัฒนาแนวทางการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืนต่อไป” อุทัย กล่าวปิดท้าย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active
    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์
    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
Save
m88 cá cược thể thao trực tuyến cá cược thể thao online cá cược thể thao trực tuyến trang cá độ bóng đá trực tuyến f88 cá độ